Icon

การบริหารจัดการความเสี่ยง
และการจัดการภาวะวิกฤต

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยง

           บริษัทได้กำหนดโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงเพื่อกำกับดูแลให้แน่ใจว่าการบริหารความเสี่ยงนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล และดูแลความเสี่ยงนั้นให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยการแต่งตั้งทีมคณะทำงานบริหารความเสี่ยงเพื่อทำหน้าที่กำกับดูแล ติดตามผลให้คำแนะนำ และปรึกษาต่อหน่วยงานของผู้ปฏิบัติงานภายในของบริษัท และยังทำหน้าที่รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ซึ่งมีกรรมการอิสระเป็นประธาน นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอิสระจากผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ทำหน้าที่การประเมิน ความเหมาะสมของการควบคุมภายในและการจัดการความเสี่ยงทั้งหมดขององค์กร ว่าเป็นไปตามที่กําหนดไวแล้วอย่างเพียงพอและเหมาะสม ซึ่งแบ่งโครงสร้างออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
           1. หน่วยงานผู้ปฏิบัติงาน (First Line of Defense) ประกอบด้วย หัวหน้าฝ่าย 8 ฝ่าย ทําหน้าที่กํากับดูแลควบคุมความเสี่ยงและติดตามผลเบื้องต้นที่เกิดขึ้นภายในขอบเขตของงานของตนเอง ประกอบด้วยฝ่ายงานต่างๆของบริษัท เช่น ฝ่ายขายและการตลาด ฝ่ายผลิตและบริการ ฝ่ายซัพพลายเซน ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายบัญชีและการเงิน ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทค สำนักเลขานุการบริษัท
           2. คณะทำงานและคณะบริหาร (Second Line of Defense) ประกอบด้วยผู้บริหารระดับ C-Level มีหน้าที่กําหนดนโยบาย กฎเกณฑ์และ มาตรฐานรวมถึงการกำกับดูแลและให้คำปรึกษา การทํางานของหน่วยงานต่างๆ ถ่ายทอดความรู้ และ สื่อสารเกี่ยวกับนโยบาย กฎเกณฑ์และมาตรฐานตามที่กําหนด รวมถึงการพัฒนานโยบายและขั้นตอนเพื่อช่วยให้แน่ใจว่าการปฏิบัติงานปฏิบัติตามนโยบายและมาตรฐานที่กำหนด
           3. หน่วยงานอิสระ (Internal Audit) (Third Line of Defense) ทำหน้าที่ประเมินและรายงานเกี่ยวกับความเหมาะสมของการควบคุมภายในและการจัดการความเสี่ยงทั้งหมดขององค์กร ว่าเป็นไปตามที่กําหนดไว้อย่างเพียงพอ

ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง
ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) และ
ขอบเขตช่วงความเบี่ยงเบนที่ยอมรับได้ (Risk Tolerance)

ปัจจัยความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท